ปัจจัยและผลกระทบต่อร้านยา ปีหมู 2019: GPP โอกาสหรืออุปสรรค์?

ภาพประกอบ มาจาก https://www.vectorstock.com/royalty-free-vector/iceberg-ship-vector-653307


สวัสดีปีหมู 2019 มีบทความดีๆ จากนักวิเคราะห์มือฉมังแห่งวงการยา มนู สว่างแจ้ง อดีตกรรมการใหญ่ บริษัทไฟเซอร์ ประเทศไทย จำกัด และปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทอาหารเสริมและยาที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ได้มานำเสนอหัวข้อเปิดประเด็นแห่งปีที่น่าสนใจของอุตสาหกรรมยา “ปัจจัยและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยา 2019” ซึ่งทุกท่านสามารถไปติดตามได้จากบรรณานุกรม ต่อไปนะครับ ในมุมมองของพี่มนูต่อร้านยา ท่านมองเห็นว่า ปัจจัยหลักๆที่จะมีผลต่อร้านยาในปีหมูนี้คือ GPP ที่เปรียบเสมือนปัญหาหรือโอกาสของวงการร้านยาเลยว่าจะสามารถยกระดับการบริการแบบมีเภสัชกรมาดูแลแบบมืออาชีพ หรือต้องล้มหายตายจากไป เราจะมาวิเคราะห์ให้เห็นว่า ร้านยาเภสัชกรควรปรับตัวอย่างไรครับ

GPP คืออะไร?

  • กฎกระทรวง GPP (Good Pharmacy Practice) ดำเนินการตามบันได 3 ขั้น ตั้งแต่ปี 2561 – 2565
  • มาตรการให้แยกจดทะเบียนระหว่างร้านขายปลีกและขายส่ง
  • กรมสรรพากรพยายามให้ร้านยาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

ผลกระทบคือ

  • GPP ส่งผลกระทบโดยตรงต่อร้านขายยาเล็กๆ โดยพบว่าร้านยาจำนวนหนึ่งประกาศปิดร้าน/เซ้งร้าน เพราะมีกติกามากมายที่ต้องปรับปรุงร้านยา ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วไม่คุ้มต่อการดำเนินการ
  • โจทย์ GPP สำหรับผู้ประกอบการร้านยาต่อไปคือ ภายในปี 2565 จะต้องมีเภสัชกรตลอดเวลาทำการ
  • กรรมการสภาเภสัชกรรมชุดใหม่ ส่วนใหญ่มีหัวคิดก้าวหน้า น่าจะเข้มงวดในเรื่องเภสัชกรผู้มีหน้าที่ที่ไม่อยู่ประจำร้านขายยาจริง (แขวนป้าย)
  • ต้องติดตามมาตรการของกรมสรรพากรในเดือนมีนาคม 2565 กรณีร้านยาที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
  • หากมาตรการ GPP สำเร็จครบถ้วนในปี 2565 จะส่งผลให้ระบบบัญชียาโปร่งใส ลดยา cross channel ระบบ stock ยาจะเป็นไปตามจริง





ใส่ความเห็น